เก็บค่าของ “ฅน” ไว้บนข้อมือ

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ที่รักและคิดถึง สวัสดีต้อนรับวันสำคัญของคนไทยทั้งประเทศ และถือเป็นวันที่สำคัญที่สุดวันหนึ่งของคุณครูภาษาไทยตัวเล็กๆ คนนี้ด้วยนะคะ นั่นคือ วันภาษาไทยแห่งชาติ ที่ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี จริงๆ คุณครูลิลลี่ก็เคยเขียนเรื่องราวของวันภาษาไทยมาหลายครั้งแล้วนะคะ แต่โอกาสสำคัญแบบนี้พูดอีกทีก็คงไม่ผิดเราจะได้กระตุ้นเตือนความจำถึงความสำคัญของวันนี้กันด้วยนะคะ

สำหรับความเป็นมาก็สืบเนื่องจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมทั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงเสนอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปีเป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ สำหรับเหตุผลที่เลือกวันที่ ๒๙ กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาตินั้น เพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถ และความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทยอันเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่งนั่นเองค่ะ

mSQWlZdCq5b6ZLkvN1R3PJz43P9eLeEM
จบจากความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ คุณครูลิลลี่ก็มานั่งคิดอยู่ตั้งนานว่าจะเขียนอะไรดีในวันสำคัญวันนี้ เอาเป็นว่าเรื่องราวนี้ถือว่าเป็นความบังเอิญซ้อนความบังเอิญอีกทีค่ะ ความบังเอิญแรกเกิดจากการนั่งเปิดพจนานุกรมดูความหมายของคำต่างๆ ไปเรื่อยๆ จนวันนั้นบังเอิญเปิดไปเจอหน้าที่ ๒๒๒ เป็นหมวดของอักษร ฃ ก็อ่านได้ความว่า ฃ อ่านว่า ขอ เป็นพยัญชนะตัวที่ ๓ เรียกว่า ฃอ ขวด เป็นอักษรสูง ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ทันใดนั้นก็ทำให้คุณครูลิลลี่คิดถึงอีกหนึ่งตัวอักษรขึ้นมาทันที นั่นก็คือ ฅ ซึ่งเมื่อเปิดไปที่หน้า ๑๕๒ ก็ได้ความเดียวกันคือ ฅ อ่านว่า คอ เป็นพยัญชนะตัวที่ ๕ เรียกว่า ฅอ คน เป็นอักษรต่ำ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว อันนี้ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าเป็นคำยืนยันจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ นะคะ

mSQWlZdCq5b6ZLkvN1R3PJz43P9eLeQ8

จริงๆ เราเป็นครูก็รู้อยู่แล้วนะคะว่า อักษรทั้ง ๒ ตัวนี้ไม่มีใช้แล้วในภาษาไทย ขนาดแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ก็งมหาอยู่ตั้งนานกว่าจะหาเจอว่าไปอยู่เสียริมสุดกันเลยทีเดียว แต่แม้จะรู้ว่าไม่มีใช้แล้ว แต่พอมานั่งนึกก็รู้สึกเสียดายว่าอักษรไทยมี ๔๔ ตัว แต่อยู่ๆ ก็จะมาหายไป ๒ ตัวเสียอย่างนั้น ทีนี้ก็มาถึงความบังเอิญอย่างที่สองที่ต้องบอกว่าเป็นที่มาของชื่อเรื่องไทยรัฐออนไลน์ครั้งนี้นี่แหละค่ะ

mSQWlZdCq5b6ZLkvN1R3PJz43P9eLee4

เรื่องราวที่ว่าก็คือคุณครูลิลลี่ไปอ่านเจอข่าวมาว่าทาง โทรคาเดโร กรุ๊ป หนึ่งในผู้นำธุรกิจนำเข้านาฬิการ่วมกับ โอเรียนท์ นาฬิกาความเที่ยงตรงสูงจากประเทศญี่ปุ่นได้จัดทำนาฬิการุ่นพิเศษขึ้นใช้ชื่อว่า “ไทยแลนด์อิดิชั่นพิเศษ รุ่น ฅ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานอักษรไทยให้ยังคงอยู่ไม่เลือนหายไป โดยนำเอาอักษร ฅ มาใส่ไว้บนหน้าปัดนาฬิกาอย่างสวยงาม (ถึงตรงนี้ขออธิบายนิดหนึ่งนะคะ คำว่า หน้าปัด ต้องสะกดแบบนี้นะคะ เราจะเคยเห็นคนสะกดผิดเป็น หน้าปัทม์ อยู่บ่อยๆ จริงๆ ที่ถูกต้อง คือ หน้าปัด นะคะ หน้าปัด เป็นคำนาม แปลว่า แผ่นที่มีตัวเลขหรือสัญลักษณ์แสดงเวลาหรือปริมาณเป็นต้น เช่น หน้าปัดนาฬิกา หน้าปัดวิทยุ หน้าปัดมาตรวัดน้ำ เป็นต้นค่ะ) กลับมาเรื่องนาฬิกาต่อค่ะ

mSQWlZdCq5b6ZLkvN1R3PJz43P9eLebd

mSQWlZdCq5b6ZLkvN1R3PJz43P9eLeNW

mSQWlZdCq5b6ZLkvN1R3PJz43P9eLeZY

นอกจากตัวอักษร ฅ ที่ต้องการบ่งบอกถึงความเป็นคนชนชาติไทยแล้ว ยังมีตัวเลข ๗๐ ที่แสดงถึงโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ ที่ผ่านมาด้วย โดยด้านหลังของนาฬิกาแต่ละเรือนจะมีตัวเลขระบุไว้ว่าเป็นเรือนที่เท่าไร เพราะนาฬิการุ่นพิเศษนี้ผลิตออกมาเพียงแต่ ๗๐๐ เรือนสำหรับผู้ชายและ ๗๐๐ เรือนสำหรับผู้หญิงเท่านั้น และความพิเศษอีกหนึ่งอย่างที่แสดงความเป็นไทยอย่างสวยสดงดงามก็คือช่องแสดงวันที่แสดงเป็นตัวเลขไทยได้อย่างน่าภาคภูมิใจด้วย เพราะทราบกันดีใช่ไหมคะว่า ประเทศไทยเราเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่มีตัวเลขใช้เป็นของตัวเอง ก่อนจากกันฝากถึงบริษัทผู้ผลิตว่า คว้า ฅ มากันไว้ไม่ให้สูญหายแล้ว ถ้าจะให้ดีพิจารณา ฃ อีกสักตัวอักษรก็จะดีนะคะ สวัสดีค่ะ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *